แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 11
กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ หน่วยที่ 6 พลังงานความร้อนและความเข้มแสง
เรื่อง การถ่านโอนพลังงานความร้อน จำนวน 2 คาบ / สัปดาห์ สอนครั้งที่ 1
วันที่ ......... ธันวาคม พ.ศ.2552 โรงเรียนคุรุราษฎร์รังสฤษฏ์
ช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม.1/2, ม.1/4, ม.1/9) จำนวนนักเรียน 45 คน /ห้อง
ผู้สอน นางสาวปวีณา รอดเจริญ ค.บ.4 วิทยาศาสตร์
______________________________________________________________________________
มาตรฐานการเรียนรู้ ว.5.1 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต การเปลี่ยนรูปพลังงานปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงาน ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระสำคัญ
การถ่ายโอนพลังงานความร้อน เป็นการถ่ายเทพลังงานระหว่าง 2 บริเวณที่มีอุณหภูมิแตกต่างกัน ด้วยวิธีการนำความร้อน การพาความร้อยและการแผ่รังสีความร้อน จากบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงกว่าไปยังบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า
จุดประสงค์การเรียนรู้
จุดประสงค์ปลายทาง
นักเรียนจำแนกการถ่ายโอนพลังงานความร้อนได้ถูกต้อง
จุดประสงค์นำทาง
1.นักเรียนอธิบายการนำความร้อนได้ถูกต้อง
2.นักเรียนอธิบายการพาความร้อนไดถูกต้อง
3.นักเรียนอธิบายการแผ่รังสีความร้อนไดถูกต้อง
สาระการเรียนรู้
การถ่ายโอนพลังงานความร้อน
1.การนำความร้อน
2.การพาความร้อน
3.การแผ่รังสีความร้อน
กระบวนการเรียนรู้
1.ขั้นอธิบายการนำความร้อน
1.1 จัดทำนักเรียน โดยแบ่งเป็นกลุ่มย่อย 9 กลุ่ม ตามกติกาการนับ 1-9 โดยให้นักเรียนนับจากใบรายชื่อนักเรียนครบทุกคน (ใช้ใบรายชื่อเป็นเกณฑ์แบ่งกลุ่ม)
1.2 นำเสนอสื่อเนื้อหาบนกระดาน แล้วตั้งคำถามจำนวน 3 คำถาม
นักเรียนทราบไหมการนำความร้อนคืออะไร
นักเรียนรู้จักตัวนำความร้อนไหมค่ะ
นักเรียนทราบไหมว่าสิ่งรอบๆตัวของนักเรียนอะไรนำความร้อนได้บ้าง
1.3 อธิบายเนื้อหาการนำความร้อนบนกระดานและมอบหมายให้นักเรียนเขียนการทดลองชุดกิจกรรมที่ 7.2 ลงสมุดของนักเรียนทุกคน
การถ่ายโอนพลังงานความร้อน
การถ่ายโอนพลังงานความร้อนจะถ่ายโอนจากตำแหน่งที่มีอุณหภูมิสูงไปสู่ตำแหน่งที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า
วิธีการถ่ายโอนพลังงานความร้อน แบ่งได้ 3 วิธี
1.การนำความร้อน (Conduction)
เป็นการถ่ายโอนพลังงานความร้อนโดนความร้อนเคลื่อนที่จากตำแหน่งที่มีอุณหภูมิสูงไปตามเนื้อวัตถุไปสู่ตำแหน่งที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า เช่น นำแท่งโลหะมาเผาที่ปลายข้างหนึ่ง ความร้อนจะทำให้โมเลกุลของโลหะที่ปลายข้างที่ได้รับความร้อนเกิดการสั่นสะเทือนหรือเคลื่อนที่จนทำให้ปลายอีกข้างหนึ่งร้อนได้
- วัตถุที่ยอมให้ความร้อนผ่าน เรียกว่า ตัวนำความร้อน ได้แก่ โลหะ(เงิน) แกรไฟต์
- วัตถุที่ไม่ยอมให้ความร้อนผ่าน เรียกว่า ฉนวนความร้อน ได้แก่ กระเบื้อง แก้ว ไม้ ยาง พลาสติก
ประโยชน์ของการถ่ายโอนพลังงานความร้อนโดยการนำความร้อน
1.โลหะต่างๆ เช่น เงิน อะลูมิเนียม ถูกนำมาทำเป็นหม้อกระทะสำหรับประกอบอาหาร
2.ฉนวนต่างๆ เช่น พลาสติก แก้ว ไม้ ถูกนำมาทำส่วนที่จับภาชนะหุงต้ม
1.4 ปฏิบัติภาระงานตามหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์โดยให้ทำทุกคน
กิจกรรมที่ 7.2 การนำความร้อน
จุดประสงค์ เพื่ออธิบายและทดลองวิธีการถ่ายโอนความร้อนโดยการนำความร้อน
สาร 1.น้ำกลั่น
อุปกรณ์ 1.ตะเกียงแอลกอฮอล์ 5.ลวดทองแดง
2.ตะแกงลวด 6.ลวดเหล็ก
3.บีกเกอร์ 7.กระดาษแข็ง
4.ไม้
วิธีการทดลอง
1.ตัดกระดาษแข็งเป็นรูปสี่เหลี่ยมให้มีขนาดใหญ่กว่าปากบีกเกอร์ขนาด 250 ลูกบาศก์เซนติเมตร
2.นำลวดเหล็ก ไม้ และลวดทองแดงที่มีขนาดเท่ากันชนิดละ 1 อัน เสียบทะลุกระดาษแข็ง
3.ใส่น้ำปริมาตร 150 ลูกบาศก์เซนติเมตร ลงในบีกเกอร์ขนาด 250 ลูกบาศก์เซนติเมตร ปิดปากบีกเกอร์ด้วยกระดาษแข็งที่เสียบด้วยลวดเหล็ก ลวดทองแดงและไม้ที่มีขนาดเท่ากัน
4.นำดินน้ำมันปั้นเป็นก้อนกลมขนาดเท่าๆกันจำนวน 12 ก้อน ติดไว้กับลวดเหล็ก ลวดทองแดงและไม้ให้มีระยะห่างเท่าๆกันชนิดละ 4 ก้อน จุดตะเกียงให้ความร้อนเป็นเวลา 57 นาทที สังเกตการณ์ร่วงของดินน้ำมัน บันทึกผล
ตารางบันทึกผลการทดลอง
การร่วงของดินน้ำมัน
วัตถุที่ใช้เป็นตัวนำ
ลำดับที่
ตำแหน่ง
ไม้
ลวดเหล็ก
ลวดทองแดง
สรุปผลการทดลอง
.................................................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................................
1.5 บูรณาการโดยให้ตัวแทนแต่ละกลุ่ม 1 คนไปศึกษาผลการทดลองของกลุ่มเพื่อนๆทั้ง 9 กลุ่ม แล้วบันทึกลงสมุดของตนเอง พร้อมมาชี้แจงให้เพื่อนภายในกลุ่มให้เข้าใจตรงกัน
1.6 นำเสนอผลงานโดยให้นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมานำเสนอผลงานหน้าห้องเรียนจาก การทดลองชุดกิจกรรมที่ 7.2
1.7 ประเมินผลสรุปและเพิ่มเติมเนื้อหา
2.ขั้นอธิบายการพาความร้อน
2.1 จัดแบ่งนักเรียน โดยแบ่งเป็นกลุ่มย่อย 9 กลุ่ม ตามกติกาการนับ 1-9 โดยให้นักเรียนนับจากใบรายชื่อนักเรียนครบทุกคน (ใช้ใบรายชื่อเป็นเกณฑ์แบ่งกลุ่ม)
2.2 นำเสนอสื่อเนื้อหาบนกระดาน แล้วตั้งคำถามจำนวน 2 คำถาม
นักเรียนทราบไหมว่าการพาความร้อนคืออะไร
นักเรียนลองคิดดูว่าการที่บอลลูนลอยไปในอากาศได้เป็นการพาความร้อนหรือไม่
2.3 อธิบายเนื้อหาเรื่องการพาความร้อนบนกระดานและมอบหมายให้นักเรียนเขียนการทดลองชุดกิจกรรมที่ 7.3ลงสมุดของนักเรียนทุกคน
2.การพาความร้อน ( Convection)
เป็นการถ่ายโอนความร้อนจากที่มีอุณหภูมิสูงไปยังบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำ โดยวัตถุหรือตัวกลางที่ได้รับความร้อนจะพาความร้อนไปพร้อมกับตัวกลางที่เคลื่อนที่ ดังนั้นการพาความร้อนจะเกดได้เฉพาะกับวัตถุที่มีสถานะเป็นของเหลวและแก๊สเท่านั้น พวกของแข็งจะไม่เกิดการพาความร้อน เนื่องจากอะตอมของแข็งไม่เคลื่อนที่
ประโยชน์ของการถ่ายโอนความร้อนโดยการพาความร้อน
1.ลมช่วยพาความร้อนออกจากร่างกาย
2.เครื่องร่อนสามารถลอยเหนือพื้นดินได้ (อาศัยหลักการพาความร้าน)
3.การใช้น้ำไหลวนเวียนในเครื่องยนต์
2.4 ปฏิบัติภาระงานตามการทดลองชุดกิจกรรมที่ 7.3โดยให้ทำเป็นกลุ่ม
กิจกรรมที่ 7 .3 การพาความร้อน
จุดประสงค์ เพื่ออธิบายและทดลองวิธีการถ่ายโอนความร้อนโดยการพาความร้อน
สาร 1.ด่างทับทิม 2.น้ำกลั่น
อุปกรณ์ 1.บีกเกอร์ 3.ตะแกง, ที่บังลม
2.ตะเกียงแอลกอฮอล์
วิธีการทดลอง
1.นำบีกเกอร์ขนาด 200 ลูกบาศก์เซนติเมตร ใส่น้ำปริมาตร 150 ลูกบาศก์เซนติเมตร
2.ใส่เกล็ดด่างทับทิมลงไป 3-4 เกล็ด
3.จุดตะเกียงแอลกอฮอล์เพื่อให้ความร้อนตรงบริเวณที่มีเกล็ดด่างทับทิมสังเกตการณ์เคลื่อนที่ของสีจากเกล็ดด่างทับทิม บันทึกผลการทดลองที่สังเกตการเคลื่อนที่
บันทึกผลการทดลอง
..................................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................................
2.5สะท้อนความคิดของนักเรียนด้วนการถามคำถามเพิ่มเติม
2.6 นำเสนอผลงานโดยจะสุ่มนักเรียนบางกลุ่มให้ส่งตัวแทนออกมานำเสนอผลงานหน้าห้องเรียนจาก การทดลองชุดกิจกรรมที่ 7.3
2.7 ประเมินผลสรุปและเพิ่มเติมเนื้อหา
3.ขั้นอธิบายการแผ่รังสีความร้อน
3.1 จัดแบ่งนักเรียน โดยแบ่งเป็นกลุ่มย่อย 9 กลุ่ม ตามกติกาการนับ 1-9 โดยให้นักเรียนนับจากใบรายชื่อนักเรียนครบทุกคน (ใช้ใบรายชื่อเป็นเกณฑ์แบ่งกลุ่ม)
3.2 นำเสนอสื่อเนื้อหาบนกระดาน แล้วตั้งคำถามจำนวน 2 คำถาม
นักเรียนทราบไหมว่าพลังงานความร้อนคืออะไร
นักเรียนทราบไหมว่าแหล่งของพลังงานความร้อนอยู่ที่ไหน
3.3 อธิบายเนื้อหา พลังงานความร้อนกับอุณหภูมิบนกระดานและมอบหมายให้นักเรียนเขียนลงสมุดของนักเรียนทุกคน
3.4 ปฏิบัติภาระงาน โดยให้ทำทุกคน
3.การแผ่รังสีความร้อน
เป็นการถ่ายโอนความร้อนจากที่มีอุณห๓ภูมิสูงไปสู่อุณหภูมิต่ำ โดยไม่ต้องอาศัยตัวกลาง เช่น ดวงอาทิตย์อยู่ในอวกาศที่ไกลจากโลกมาก แต่พลังงานความร้อนที่ได้จากดวงอาทิตย์ยังสามารถถ่ายโอนมาถึงโลกได้ หรือกรณีที่เอามือไปอังหน้าเตารีดจะเกิดความรู้สึกว่าร้อน ความร้อนที่ได้รับนี้เกิดจากการแผ่รังสีความร้อน
ประโยชน์ของการถ่ายโอนความร้อนโดยการแผ่รังสีความร้อน
1.กาต้มน้ำที่ขัดจนมันแวววาว จะสูญเสียพลังงานความร้อนโดยการแผ่รังสีน้อยจึงเก็บความร้อนไว้ได้นาน
3.5 สะท้อนความคิดของนักเรียนให้เข้าใจถึงเรื่องการแผ่รังสีความร้อน
3.6 ถามคำถามเพิ่มเติม
3.7 ประเมินผลสรุปและเพิ่มเติมเนื้อหา
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
1.กิจกรรมอธิบายการนำความร้อน
1.1.ใบรายชื่อนักเรียน (ม.1/2, ม.1/4, ม.1/9)
1.2.เนื้อหาเรื่อง, การนำความร้อน คำถามจำนวน 3 คำถาม
1.3.เนื้อหาเรื่อง การนำความร้อน
1.4.หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ม.1, สมุดจดบันทึก
1.5.กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ
1.6.บัตรกำหนดเวลา
1.7.ประเมินผลสรุป
2.กิจกรรมอธิบายการพาความร้อน
2.1.ใบรายชื่อนักเรียน (ม.1/2, ม.1/4, ม.1/9)
2.2.เนื้อหาเรื่อง, การพาความร้อน คำถามจำนวน 2 คำถาม
2.3.เนื้อหาเรื่อง การพาความร้อน
2.4.หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ม.1, สมุดจดบันทึก
2.5.คำถามเพิ่มเติม
2.6.บัตรกำหนดเวลา
2.7.ประเมินผลสรุป
3.กิจกรรมอธิบายการแผ่รังสีความร้อน
3.1.ใบรายชื่อนักเรียน (ม.1/2, ม.1/4, ม.1/9)
3.2.เนื้อหาเรื่อง, การแผ่รังสีความร้อน คำถามจำนวน 2 คำถาม
3.3.เนื้อหาเรื่อง การแผ่รังสีความร้อน
3.4.หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ม.1, สมุดจดบันทึก
3.5.กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ
3.6.บัตรกำหนดเวลา
3.7.ประเมินผลสรุป
การวัดและประเมินผล
การวัดผล
1.วัดผลการนำความร้อน ด้วยการตรวจผลการสรุปตามสมุดจดบันทึก โดยยึดเกณฑ์ถูกต้อง
2.วัดผลการพาความร้อน ด้วยการตรวจผลการสรุปตามสมุดจดบันทึก โดยยึดเกณฑ์ถูกต้อง
3.วัดผลการแผ่รังสีความร้อน ด้วยการตรวจผลการสรุปตามสมุดจดบันทึก โดยยึดเกณฑ์ถูกต้อง
การประเมินผล
1.ประเมินผลการอธิบายการนำความร้อน พบว่า นักเรียน .... คน อธิบายการนำความร้อน ไม่ได้ แก้ไขด้วยการให้ศึกษาเรื่องการนำความร้อน เพิ่มเติมนอกเวลาเรียน
2.ประเมินผลการอธิบายการพาความร้อน พบว่า นักเรียน ....คน อธิบายการพาความร้อน ไม่ได้ แก้ไขด้วยการให้ศึกษาเรื่องการพาความร้อน เพิ่มเติมนอกเวลาเรียน
3.ประเมินผลการอธิบายการแผ่รังสีความร้อน พบว่า นักเรียน ....คน อธิบายการแผ่รังสีความร้อนไม่ได้ แก้ไขด้วยการให้ศึกษาเรื่องการแผ่รังสีความร้อน เพิ่มเติมนอกเวลาเรียน
บันทึกผลหลังการสอน
ผลการสอน
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ปัญหา / อุปสรรค
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ข้อเสนอแนะ / แนวทางแก้ไข
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ลงชื่อ ...................................................... ครูผู้สอน
(นางสาวปวีณา รอดเจริญ)
......./............/.........
วันเสาร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)